วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

รายชื่อกลุ่ม

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
493-04-1013 ขจรศักดิ์ เมืองจันทร์
493-04-1014 ชฎาพร วรนิธิสมบัติ
493-04-1021 นพสรัญ เพ็ญโรจน์
493-04-1026 เจษฎา ทรงเวษเกษม
493-04-1042 เจณิชตา จันทาวลับเสถียร
493-04-1044 พ.ต.ภูวนารถ จันทนาม
493-04-1045 ชุติมันต์ กุลธนภัทร
493-04-1046 ชัยยงค์ ภูมิพระบุ
493-04-1051 ศศิธร พฤศชนะ
493-04-1052 อัจรา โพธิ์พัทยา

ผัก.....รักษาโรค

เห็ดหอม
เป็นเห็ดมีขายกันในรูปเห็ดตากแห้ง เห็ดหอมมีรสหวาน มีกลิ่นหอม สารเคมีที่พบมีเส้นใย ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและวิตามินบี มีการทดลองพบว่าเห็ดหอมมีฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอลในเลือด ถ้ารับประทานเห็ดหอมเป็นยาบำรุงกำลังช่วยย่อย ลดอาการเบื่ออาหาร






งา
มีกลิ่นหอม มีน้ำมันมาก มีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรด วิตามินบี 1, บี 2, วิตามินอี และเกลือแร่หลายชนิด สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ท้องผูก ผมหงอกก่อนวัย ลดโคเลสเตอรอลในเลือด และเสริมภูมิต้านทานโรค ถ้ารับประทานเป็นประจำ ข้อระวังผู้มีท้องร่วงเรื้อรัง ไม่ควรรับประทาน







ถั่ว
ได้แก่ ถั่วลันเตา ถั่วแขก มีสารอาหารที่สำคัญคือ โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่หลายชนิด มีคุณค่าอาหารครบถ้วน มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำได้









ขี้เหล็ก
ใช้ใบรับประทาน ใบขี้เหล็กมีวิตามินเอ วิตามินซี เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบี 1 และไนอาซิน
สรรพคุณทางยาของใบขี้เหล็กมีสารชนิดหนึ่งออกฤทธิ์ต่อประสาททำให้นอนหลับดี แก้ท้องผูกได้ดี และบำรุงร่างกาย








ตำลึง
เป็นไม้เถา ใช้ใบรับประทาน เป็นพืชมีคุณค่าสูงทั้งวิตามินเอ แคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก ยังมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรด ฟอสฟอรัส เหล็ก เหมาะเป็นอาหารบำรุง นอกจากนี้ตำลึงยังมีคุณสมบัติแก้แพ้ได้ดี โดยนำใบมาพอกบริเวณโดนสัตว์กัดต่อย






มะระ
เป็นผักจำพวกแตง มีรสขม เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ แก้กระหาย มีการทดลองกินมะระลดน้ำตาลในเลือดได้ (ส่วนเม็ดมะระจีนแก่จัดตากแห้งแกะเปลือกนอกออก นำมาบดให้ละเอียด ละลายน้ำร้อนกินวันละครั้งก่อนนอน จะแก้อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้)







ผักกาด
ผักกาดมี 3 ชนิด ผักกาดขาว ผักกาดเขียว และผักกาดหอม ต่างมีสารอาหารเกลือแร่วิตามินครบบริบูรณ์ และมีเส้นใยอยู่จำนวนมาก การรับประทานเป็นประจำจะป้องกันอาการท้องผูก ลดการเป็นมะเร็งลำไส้ ส่วนผักกาดหอมสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และวิตามินซีที่มีอยู่ในผักจะสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค







มะเขือยาว
มะเขือมีอยู่ 3 ชนิด เปลือกสีเขียว สีม่วง และสีขาว พบว่าเปลือกสีม่วงและสีขาวมีคุณภาพดีกว่าสีเขียว ในมะเขือมีวิตามินบี 1 จำนวนมาก ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของสมอง ช่วยความจำ ลดอาการอ่อนเปลี้ยของสมอง ในมะเขือยาวนี้มีโปรตีน แคลเซียม และวิตามินมากกว่ามะเขือเทศ การรับประทานเป็นประจำจะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด









ปวยเล้ง
เป็นผักที่มีสีเขียวเข้มมีเส้นใย เกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก และยังพบว่ามีกรดออกซาลิกอยู่มากเช่นกัน ซึ่งกรดนี้ถ้ารวมตัวกับแคลเซียมจะทำให้เกิดนิ่วได้ ก่อนบริโภค ควรลวกผักปวยเล้งให้สุกก่อนแล้วเทน้ำทิ้งไป จึงนำผักมาปรุงอาหารได้ ทำเช่นนี้กำจัดกรดออกซาลิกออกไป ปวยเล้งถ้ารับประทานเป็นประจำ จะยับยั้งการดำเนินของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอีกด้วย









แค
รับประทานดอกมีชนิดสีแดงและสีขาว มีสรรพคุณลดไข้ ส่วนใบแครับประทานเป็นยาระบายได้









หัวปลี
เป็นส่วนดอกของต้นกล้วย ใบหัวปลีมีธาตุเหล็ก จึงบำรุงเลือด แก้โลหิตจาง และยังคงลดน้ำตาลในเลือด และแก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ การนำมาปรุงอาหารได้แก่ ยำหัวปลี หรือรับประทานสดก็ได้









เกร็ดเล็กน้อยในการปรุงอาหารผักให้ได้คุณค่า
1. การหั่นผักแล้วล้าง น้ำจะทำให้วิตามินซีในผักสูญเสียไป เพราะวิตามินซีสลายตัวได้ง่ายในน้ำ ดังนั้นจะต้องล้างผักก่อนแล้วจึงหั่น และเมื่อหั่นเสร็จแล้ว ควรปรุงทันที
2. หลังปรุงแล้วควรรับประทานทันที เพราะการทำทิ้งไว้นาน ๆ หลังปรุง จะทำให้สิ่งมีคุณค่าทางอาหารสูญเสียไปได้
3. วิธีการหุงต้มผักทุกชนิดล้วนมีผลต่อการสูญเสียวิตามินซี เนื่องจากวิตามินซีละลายน้ำได้ ดังนั้นการรับประทานผักต้ม จะต้องรับประทานน้ำแกงด้วย การต้มควรจะต้มในน้ำน้อย ๆ และใช้เวลาสั้น ๆ
4. การปรุงอาหารจำพวกผัก ถ้าเติมน้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย จะช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร และรักษาวิตามินซีไว้ด้วย
5. เครื่องครัวที่ใช้ผัดหรือต้มผัก ควรเป็นพวกเหล็ก เพราะจะทำให้วิตามินสูญเสียน้อยกว่าพวกทองแดง

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กินผักตามฤดูกาล จะได้อะไร

ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม) ในฤดูร้อน หรือปลายฤดูหนาว ต่อกับฤดูร้อน ความร้อนในธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น ความร้อนจากธรรมชาติภายนอก จึงมากระทบร่างกายกำเริบขึ้น และหากกำเริบมาก อาจส่งผลต่อธาตุน้ำ และธาตุดิน ตามลำดับ
ความร้อนส่งผลให้ร่างกายมีอาการตัวร้อน ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย ปากแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก ปัสสาวะน้อย และสีเหลืองจัด หรืออาจเกิดเป็นเม็ดขึ้นตามร่างกาย อาการดังกล่าว สามารถป้องกัน และบรรเทาได้ด้วยอาหารรสขมเย็น รสเปรี้ยว รสจืด อาหารเหล่านี้ จะทำให้ความร้อนผ่อนคลายลง หรือช่วยลดความร้อน
ผักพื้นบ้านที่ควรรับประทานในฤดูร้อน เช่น มะระขี้นก ฮ้วนหมู ผักเฮือด ส้มป่อย ผักกูด ผักปลัง ตำลึง ชะอม มะขาม ผักหวาน ไม่ควรรับประทานอาหารรสร้อน รสเผ็ดจัด รสมัน เพราะจะเป็นธาตุไฟในร่างกาย เป็นผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ลำไย ขนุน ทุเรียน เป็นต้น สำหรับเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับฤดูร้อน คือ น้ำผลไม้รสเปรี้ยว คั้นและเหยาะเกลือเล็กน้อย จะช่วยคลายร้อนได้ ตัวอย่างเช่น แตงโม ส้ม สับปะรด เป็นต้น

ฤดูฝน (เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน) เมื่อฤดูฝนย่างกรายเข้ามา ความเย็นอันเป็นธรรมชาติของฤดูฝนเพิ่มมากขึ้น สำหรับภายในร่างกาย ธาตุลม อันเป็นธาตุที่มีลักษณะเคลื่อนไหว และมีธรรมชาติเย็น จะถูกกระทำโทษได้ง่าย ร่างกายจึงมักจะมีการเจ็บป่วย โดยมีมูลเหตุจากธาตุลมเป็นสำคัญ ความเย็นที่มีมากเกินไป จะกระทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นไข้หวัดเล็กน้อยได้ อาการดังกล่าว สามารถป้องกันได้ โดยอาหารรสสุขุม รสเผ็ดร้อน ผักพื้นบ้านที่มีรสเผ็ดร้อน คือ ยอดพริก โหระพา ยี่หร่า แมงลัก กระเพรา หูเสือ ผักไผ่ พลูดาว ขิง ข่า ผักคาด กะทือ กระเจียว ผักแพว เอื้อง เป็นต้น

ฤดูหนาว (เดือนตุลาคม - เดือนมกราคม) ความหนาวอันเป็นธรรมชาติของฤดูหนาว กระทบต่อร่างกาย หากร่างกายไม่อาจต้านทานได้ จะเกิดความเจ็บป่วย ความหนาวจะส่งอิทธิพลต่อธาตุน้ำในร่างกาย ทำให้เจ็บป่วยได้มากกว่าธาตุอื่น และจะทำให้มีอาการผิวแห้ง มึนศีรษะ น้ำมูกไหล ขัดยอก ขยับเขยื้อนร่างกายไม่สะดวก ท้องอืด อาหารที่เหมาะกับอากาศในฤดูหนาว คือ อาหารรสขมร้อน รสร้อน และรสเปรี้ยว ผักพื้นบ้านที่เหมาะสม ในการรับประทานในหน้าหนาว คล้ายกับผักพื้นบ้านที่รับประทานหน้าฝน ตัวอย่างเช่น ข่าอ่อน กระชาย พริกไทย ยอดพริก ขมิ้น ผักไผ่ ผักแพว และผักที่มีรสเผ็ดร้อนทุกชนิด